ข่าวการศึกษา

สั่งปรับระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย เน้นโอเน็ตมากขึ้น ย้ำลดเวลาเรียนเลิก 14.00 น

 

“ดา ว์พงษ์” จี้ สกอ.ทำแผนอุดม 15 ปีให้ชัดเจน ย้ำลดเวลาเรียนเลิก 14.00 น.ไม่กระทบวิชาการ ผู้ปกครองไม่ต้องกังวล สั่งปรับระบบสอบเข้ามหา’ลัย ด้าน “ธีระเกียรติ” เตรียมถก ทปอ.ปรับการสอบให้สอดคล้องกับนโยบาย 

 วันนี้ (10 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รม ว.ศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายผู้บริหาร สกอ. โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการ กกอ. และข้าราชการ ให้การต้อนรับ โดยพล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ฝาก สกอ.กลับไปดูแผนและทิศทางการทำงานว่าสอดรับกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ รวมถึงแผนการทำงานอื่น ๆ ควรสอดคล้องกับองค์กรหลักของ ศธ. ด้วย สิ่งเหล่านี้นายกรัฐมนตรีอยากเห็นภายในก.ย. 2559 ที่สำคัญต้องตอบคำถามได้ว่าจะเห็นอะไร เมื่อไหร่

 “แผน การขับเคลื่อนภาพรวมจะต้องสมบูรณ์ เช่น โครงการคุรุทายาทที่ สกอ.จะต้องฉายภาพผลิตครูตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องการ เอกไทย อังกฤษ วิทย์ จำนวนเท่าไหร่ ผมทราบว่า สกอ.กำลังจัดทำแผนอุดมศึกษา 15 ปีขอให้วางแผนและทิศทางให้ชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะต้องทำ ให้เป็นที่ยอมรับแก่สังคม หากแผนมีความชัดเจนต่อให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงแผนได้”

 พล.อ.ดา ว์พงษ์ กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งกำหนดให้เลิกเรียนวิชาการเวลา 14.00 น.และช่วงเวลาที่เหลือจะจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งผู้ปกครองกังวลว่าเมื่อลดเนื้อหาวิชาการลง แต่มหาวิทยาลัยยังคงสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบเดิม เด็กจะต้องไปเร่งกวดวิชา ตนหารือกับสพฐ.แล้วพบว่าเนื้อหาสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนควรใช้เวลาเรียนอยู่ที่ 840 ชั่วโมงต่อปี หรือ 200 วัน คิดเป็นวันละ 5 คาบเรียนต่อวัน แต่ปัจจุบันโรงเรียนทุกแห่งเรียน 7 คาบต่อวันหรือ 1,400 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเกินไป ถ้าหากการข้อสอบอยู่ในเนื้อหา 8 กลุ่มสาระจะไม่กระทบเช่นกัน

 “ผู้ ปกครองเกิดข้อกังวล สกอ.ต้องมาดูว่าการสอบเข้าเรียนต่อในแต่ละระดับ ทั้ง ม.11,ม.4และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องปรับเนื้อหาข้อสอบ พร้อมให้เหตุผลที่เหมาะสมว่าทำไมมหาวิทยาลัยต้องออกข้อสอบในรูปแบบดังกล่าว เพื่อให้เด็กเข้าใจและได้เตรียมความพร้อมเพื่อลดปัญหาการกวดวิชาลง สามารถรับการคัดเลือกเข้าเรียนต่อในสาขาที่ต้องการได้ เรื่องนี้ สกอ.ต้องไปคุยกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ”พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว

อ่านเพิ่มเติม http://www.unigang.com

Credit  http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000102742


News